.

☺☺--ยินดีตอนรับทุกๆท่านสู่..... blogger ของ napawan!!--☺☺

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจในอาเซียน

ความร่วมมือ

จากตารางแสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบของประชาคมอาเซียนซึ่งได้รับการกล่าวถึงในยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ มีความครอบคลุมเกือบทุกประเด็น แม้บางประเด็นของเสาหลักประชาคมอาเซียนจะมิได้กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ โดยตรง แต่ก็เป็นสิ่งที่หน่วยที่เกี่ยวข้องได้ถือปฏิบัติ หรือดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว เช่น การประชุมรัฐมนตรีอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting: AMM) การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum: ARF)ความร่วมมือทางด้านการทหาร (Defense)ของชาติอาเซียน การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM)โครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียนและลุ่มแม่น้ำโขง (ASEAN Mekong Basin Development Cooperation: AMBDC)เป็นต้น
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->

แนวทางการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ ๑๑ จะนำไปสู่การกำหนดแผนกลยุทธ์ หรือแผนปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย ทั้งในส่วนของประโยชน์ที่จะ
ได้รับจากประชาคมอาเซียน และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากประชาคมอาเซียน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนบังเกิดผลในทางปฏิบัติ

นับเป็นความโชคดีของประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานคำสอนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง
ประเทศไทยจึงสามารถนำคำสอนพระราชทานดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างรู้เท่าทัน และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้น้อมนำปรัญญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นพื้นฐานของหลักการของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ในอันที่จะมุ่งพัฒนาภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกระดับ ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม พัฒนาประเทศสู่ความสมดุลในทุกมิติอย่างบูรณาการ และเป็นองค์รวม และยึดวิสัยทัศน์ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๗๐ ที่ว่า คนไทยภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีมิตรไมตรีบนวิถีชีวิตแห่งความพอเพียง ยึดมั่นในวัฒนธรรมประชาธิปไตย และหลักธรรมาภิบาล การบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ทั่วถึง มีคุณภาพ สังคมมีความปลอดภัยและมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เกื้อกูลและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ระบบการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน อยู่บนฐานทางเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองและแข่งขันได้ในเวทีโลก สามารถอยู่ในประชาคมภูมิภาคและโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี

รู้รึเปล่า ?

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับอาเซียน
ASEAN ย่อมาจากอะไร

- Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อาเซียนเริ่มก่อตั้งครั้งแรกประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ ประเทศใดบ้าง

- 5  ประเทศ  ได้แก่  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์ และไทย

 ปัจจุบันอาเซียน ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง

- กัมพูชา ฟิลิปปินส์ บรูไนดารุสซาลาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า ลาว

อาเซียน+3 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง

- กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศ จีน เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น

อาเซียน+6 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง

- กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ กลุ่มประเทศ+3 และประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์

คำขวัญอาเซียน มีว่าอย่างไร

- หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งอัตลักษณ์, หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)

ใครคือเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน

- ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ

มาร้องเพลงอาเซียนกัน



คห.ส่วนตัว เพลงคุ้นๆใช่ไหม ใช่แล้วมันเป็นเพลงเปิดข่าวช่อง 7 นี้เอ
 

ได้เวลาโกอินเตอร์แล้ว !





วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

มารู้จัก อาเซียนกัน

อาเซียนเกิดมาอย่างไร


เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

ความหมายของธงอาเซียน

สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน

รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง

ประกอบด้วยประเทศ 10 ประเทศ


1.


                            เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam

2.

                                          ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia


3.


               สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia


4.

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic

5.

                                           
                                                               มาเลเซีย : Malaysia

6.
 
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar

7.


สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine

8.


                                        สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
9.


                                           ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand

10.



สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam