ความร่วมมือ
จากตารางแสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบของประชาคมอาเซียนซึ่งได้รับการกล่าวถึงในยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ มีความครอบคลุมเกือบทุกประเด็น แม้บางประเด็นของเสาหลักประชาคมอาเซียนจะมิได้กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ โดยตรง แต่ก็เป็นสิ่งที่หน่วยที่เกี่ยวข้องได้ถือปฏิบัติ หรือดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว เช่น การประชุมรัฐมนตรีอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting: AMM) การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum: ARF)ความร่วมมือทางด้านการทหาร (Defense)ของชาติอาเซียน การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM)โครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียนและลุ่มแม่น้ำโขง (ASEAN Mekong Basin Development Cooperation: AMBDC)เป็นต้น
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
แนวทางการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ ๑๑ จะนำไปสู่การกำหนดแผนกลยุทธ์ หรือแผนปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย ทั้งในส่วนของประโยชน์ที่จะได้รับจากประชาคมอาเซียน และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากประชาคมอาเซียน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนบังเกิดผลในทางปฏิบัติ
นับเป็นความโชคดีของประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานคำสอนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง
ประเทศไทยจึงสามารถนำคำสอนพระราชทานดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างรู้เท่าทัน และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้น้อมนำปรัญญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นพื้นฐานของหลักการของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ในอันที่จะมุ่งพัฒนาภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกระดับ ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม พัฒนาประเทศสู่ความสมดุลในทุกมิติอย่างบูรณาการ และเป็นองค์รวม และยึดวิสัยทัศน์ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๗๐ ที่ว่า “คนไทยภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีมิตรไมตรีบนวิถีชีวิตแห่งความพอเพียง ยึดมั่นในวัฒนธรรมประชาธิปไตย และหลักธรรมาภิบาล การบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ทั่วถึง มีคุณภาพ สังคมมีความปลอดภัยและมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เกื้อกูลและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ระบบการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน อยู่บนฐานทางเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองและแข่งขันได้ในเวทีโลก สามารถอยู่ในประชาคมภูมิภาคและโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
แนวทางการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ ๑๑ จะนำไปสู่การกำหนดแผนกลยุทธ์ หรือแผนปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย ทั้งในส่วนของประโยชน์ที่จะได้รับจากประชาคมอาเซียน และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากประชาคมอาเซียน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนบังเกิดผลในทางปฏิบัติ
นับเป็นความโชคดีของประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานคำสอนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง
ประเทศไทยจึงสามารถนำคำสอนพระราชทานดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างรู้เท่าทัน และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้น้อมนำปรัญญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นพื้นฐานของหลักการของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ในอันที่จะมุ่งพัฒนาภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกระดับ ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม พัฒนาประเทศสู่ความสมดุลในทุกมิติอย่างบูรณาการ และเป็นองค์รวม และยึดวิสัยทัศน์ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๗๐ ที่ว่า “คนไทยภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีมิตรไมตรีบนวิถีชีวิตแห่งความพอเพียง ยึดมั่นในวัฒนธรรมประชาธิปไตย และหลักธรรมาภิบาล การบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ทั่วถึง มีคุณภาพ สังคมมีความปลอดภัยและมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เกื้อกูลและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ระบบการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน อยู่บนฐานทางเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองและแข่งขันได้ในเวทีโลก สามารถอยู่ในประชาคมภูมิภาคและโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น